เมนู

อริยมรรค. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ได้แก่ เพื่อถึง คือบรรลุ ซึ่งพระอรหัต
ด้วย ซึ่งพระนิพพานด้วย.
เรียกพระเถรีนั้นด้วยบทว่า ภเทฺร. บทว่า ภทฺรรตา ความว่า
เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมมีศีลเป็นต้นอันเจริญ. บทว่า โยคกฺเขมํ
อนุตฺตรํ
ได้แก่ พระนิพพานอันเกษมจากโยคะ 4 ไม่มีอันตรายยอดเยี่ยม
ความว่า จงเจริญโพธิปักขิยธรรมอันเป็นกุศล เพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น
เรียกพระเถรีนั้นด้วยบทว่า อุปสเม. บทว่า ตเร โอฆํ มจฺจุเธยฺยํ
สุทุตฺตรํ
ความว่า ชื่อว่า มัจจุเธยยะ บ่วงมาร เพราะเป็นที่ยึดถือของ
มัจจุ. ชื่อว่า สุทุตตระข้ามได้แสนยาก เพราะผู้ที่มิได้สร้างสมกุศลสมภาร
ไว้จะข้ามได้ยากเหลือเกิน. พึงข้าม คือ พึงใช้นาวาคืออริยมรรคข้ามโอฆะ
ใหญ่คือสังสารวัฏ. บทว่า ธาเรหิ อนฺติมํ เทหํ ความว่า จงเป็นผู้ทรงกาย
อันมีในภพสุดท้าย ด้วยความที่กายนั้นยังแข็งแรงอยู่นั่นแล.
จบ อรรถกถาติสสาทิเถรีคาถา

11. มุตตาเถรีคาถา


[412] เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดย
ชอบด้วยความหลุดพ้นจากความค่อม 3 อย่าง คือ
ค่อมเพราะครก 1 ค่อมเพราะสาก 3 ค่อมเพราะ
สามี 1 เป็นผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย
ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

จบ มุตตาเถรีคาถา

11. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา


คาถาว่า สุมุตฺตา สาธุ มุตฺตามฺหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-
เถรีชื่อมุตตา.
พระเถรีชื่อมุตตาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรสาวของ
พราหมณ์ยากจนในโกศลชนบท เวลาเจริญวัย บิดามารดาได้ให้เธอแก่
พราหมณ์ค่อมคนหนึ่ง เธอไม่ชอบครองเรือนกับพราหมณ์ค่อมนั้น ขออนุญาต
เขาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา จิตของเธอพล่านไปในอารมณ์ภายนอก เธอข่มจิต
นั้นกล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ เป็นต้น ขวนขวาย
วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวไว้ในอปทานว่า
พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ มีจักษุ
ในธรรมทั้งปวง ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ เสด็จ
เข้าบุรีเพื่อบิณฑบาต เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้น
เสด็จมา ชาวพระนครเหล่านั้นทั้งหมดต่างร่าเริงยินดี
มาร่วมกันเกลี่ยทราย กวาดถนน ยกต้นกล้วย หม้อ
มีน้ำเต็ม ธง เอาธูป จุรณ และพวงดอกไม้สักการะ
พระศาสดา ข้าพเจ้ามอบถวายมณฑป นิมนต์พระผู้
นายกวิเศษถวายมหาทาน ปรารถนาพระสัมโพธิญาณ
พระมหาวีระ พระนามปทุมุตตระผู้นำเหล่า-
สรรพสัตว์ ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนาแล้วทรง